**แรงงานอาเซียน….แรงงานอนุภูมิลุ่มน้ำโขง พิมพ์
เขียนโดย VRP   

แรงงานอาเซียน….แรงงานอนุภูมิลุ่มน้ำโขง

            ควรผลักดันให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ทำสัญญากับแรงงานข้ามชาติโดยตรง

                                ปัญหาการขาดแรงงานในภาคธุรกิจการค้าขนาดเล็กขนาดย่อม รวมทั้งปัญหาแรงงานภาคการเกษตรหนึ่งในปัญหาของผู้ประกอบการทุกแขนง เพราะเหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึง 1 ปีที่ 10 ประเทศ จะร่วมกันเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี พ.ศ. 2558 ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ไม่ว่า ด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้า การลงทุน จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า และบริการ อย่างเสรีโดยไม่มีภาระภาษีเป็นอุปสรรคต่อไป และในขณะเดียวกัน การก้าวเข้าสู่ AEC จึงเป็นทั้งโอกาส และความท้าทายในหลายๆ ด้านของแต่ละประเทศ และอาจมีความได้เปรียบ หรือเสียเปรียบเพราะปัจจัยต่างๆ โดยปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ “แรงงาน”

                                การแข่งขันทางการค้า ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น ที่ประสบปัญหามีแรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย จำนวนมาก สาเหตุมาจากความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจเติบโตของไทยก้าวหน้ากว่าในหลายประเทศในอาเซียน การใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำประเทศไทย 300 บาท ต่อวัน สร้างปัญหาพอสมควรในระดับธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดย่อม ที่ใช้คนท้องถิ่นในชุมชน และอัตราค่าจ้างนี้ ทำให้แรงงานท้องถิ่นไหลเข้าสู่เมืองใหญ่ๆไม่ว่า เชียงใหม่  กรุงเทพฯ  ที่การเจริญเติบโตของธุรกิจยังต้องการแรงงาน

                                สำหรับประเทศไทย ใช้อัตราแรงงานขั้นต่ำในประเทศ 300 บาท ต่อวัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของประเทศอาเซียน ดังนี้ มาเลเซีย อยู่ที่ประมาณ 318 บาท ต่อวัน อินโดนีเซีย ประมาณ 240 บาท ต่อวัน กัมพูชา มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเหลืออยู่ที่ประมาณ 65 บาท ต่อวัน สปป.ลาว มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 108 บาท ต่อวัน พม่ามีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 18-20 บาท ต่อวัน และเวียดนามมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 103 บาท ต่อวัน

                                ฉะนั้นการหลั่งไหลแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาในประเทศไทย ด้วยค่าแรงที่สูงกว่าในภาคการเกษตรประมาณ 200-250 บาทต่อวัน ภาคการก่อสร้างเฉลี่ย 200-300 บาทต่อวัน ภาคบริการ เช่น ร้านอาหารเฉลี่ย 200 บาท ต่อวันขึ้นไป (หรือขึ้นอยู่กับความสามารถของแรงงาน ที่อาจมีค่าจ้างสูงกว่านี้)

                                การก้าวเข้าสู่อาเซียนปี 2558 เป็นโอกาสท้าทายของผู้ประกอบการทุกแขนง เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้แรงงานต่างชาติ ที่เข้ามาทำงานผิดกฎหมายกลายเป็นแรงงานถูกกฎหมาย โดยเฉพาะกระบวนการปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างชาติ ด้วยการลดระเบียบกับขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลง เพื่อช่วยแรงงานต่างชาติสามารถเข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมายได้ง่ายขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลของทุกประเทศในอาเซียน ควรผลักดันให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ทำสัญญาจ้าง กับแรงงานข้ามชาติโดยตรง เพื่อลดกระบวนการนายหน้า ลดปัญหาแรงงานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก็จะลดน้อยลง อีกทั้งจะทำให้ปัญหาต่างๆ เช่น ยาเสพติด ปัญหาอาชญากรรมลดน้อยลงไปด้วย

โดย.....วีอาร์พี ทัวร์ แอนด์ ทราเวล

Joomla Templates and Joomla Extensions by ZooTemplate.Com